1. เพื่อป้องกันอาการปวด
เพราะตัว
ฟันคุดเองมีแรงผลักเพื่อจะงอกขึ้นมาในขากรรไกร แต่ถูกกันหรือติดโดยฟันข้างเคียง ทำให้มีแรงย้อนกลับไปกดที่
เส้นประสาทของขากรรไกร อาการปวดมีตั้งแต่ทนได้จนกระทั่งปวดมาก ในบางครั้งอาจมีอาการปวดแบบส่งต่อหลังจากตำแหน่งฟันคุดไปยังบริเวณอื่นของใบหน้า เช่น
ปวดหน้าหู ปวดตา ปวดศีรษะ เป็นต้น
2. เพื่อป้องกันการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน
เพราะจะมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้
เหงือก แล้วไม่สามารถทำความสะอาดได้ เชื้อ
แบคทีเรียที่มาสะสมอยู่จะทำให้
เหงือกอักเสบ ปวดและบวมเป็นหนอง ถ้าทิ้งไว้การอักเสบจะลุกลามไปใต้คางหรือใต้ลิ้น ซึ่งจะทำให้เกิด
การแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ง่าย นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
3. เพื่อป้องกันฟันข้างเคียงผุ
ซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ที่สองที่อยู่ชิดกันนั้น ทำความสะอาดได้ยาก
เศษอาหารจะติดค้างอยู่ทำให้เกิดฟันผุได้ทั้งสองซี่
4. เพื่อป้องกันการละลายตัวของกระดูก
แรงดันจาก
ฟันคุดที่พยายามดันขึ้นมา จะทำให้
กระดูกรอบรากฟันหรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายไป
5. เพื่อป้องกันการเกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก
ฟันคุดที่ทิ้งไว้นานอาจจะทำให้เนื้อเยื่อที่หุ้มรอบ
ฟันคุดขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำ แล้วโตขึ้นโดยไม่แสดงอาการเลย จนในที่สุดเกิดการทำลายฟันซี่ข้างเคียง และกระดูกรอบๆ บริเวณนั้น หากไม่เคยได้รับ
การตรวจฟันมักจะรู้ตัวอีกทีเมื่อเห็นใบหน้าเอียงหรือขากรรไกรข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง ซึ่งถ้าพบและรีบทำการผ่าตัดออกได้เร็ว โอกาสสูญเสียอวัยวะ
ขากรรไกรจะน้อยลง ยังสามารถ
รักษารูปหน้าให้เหมือนเดิมได้ แต่ถ้าถุงน้ำหรือ
เนื้องอกมีขนาดใหญ่มากๆ ก็อาจต้องตัดขากรรไกรบางส่วนออก การรักษารูปใบหน้าให้เหมือนเดิมก็ทำได้ยากขึ้น
6. เพื่อป้องกันกระดูกขากรรไกรหัก
เนื่องจากการที่มี
ฟันคุดฝังอยู่จะทำให้
กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นบางกว่าตำแหน่งอื่น เกิดเป็นจุดอ่อน เมื่อได้รับอุบัติเหตุหรือกระทบกระแทก กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นก็จะหักได้ง่าย
7. วัตถุประสงค์อื่นๆ
เช่น ในการ
จัดฟัน มักต้อง
ถอนฟันกรามซี่ที่สามออกเสียก่อนเพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนฟันซี่อื่นๆ และแรงดันของ
ฟันคุดยังมากพอที่จะผลักให้ฟันข้างเคียงรับแรงกระทบต่อๆ กันไปจนฟันบิดซ้อนเกได้ ใน
การจัดฟันทันตแพทย์จึงมักแนะนำให้
ถอนฟันคุดออกก่อนใส่เครื่องมือ